พระเนตรการฝึกซ้อมทหารกองรักษาพระองค์ประจำฤดูใบไม้ร่วง ณ กรุงเบอร์ลิน
อันมีเจ้านายในพระราชวงศ์ทั้งของเยอรมนีและประเทศอื่นๆ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
เป็นโอกาสให้พระองค์ทรงได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ดังที่ทรงมีพระราชหัตถเลขากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

ทรงเครื่องแบบนักเรียนนายเรือเยอรมันประดับอินทรธนู
ตราหน้าหมวก และมีดเหน็บพู่อย่างเจ้านายเยอรมัน
(เจ้าฟ้าทหารเรือ น.9)
|

เอกสารลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2
แห่งเยอรมนี พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้สมเด็จฯ พระบรมราชชนก
ทรงเข้าเป็นนักเรียนนายเรือในกองทัพราชนาวีเยอรมัน
(เจ้าฟ้าทหารเรือ น.2)
|
ครั้นเสร็จการสวนสนามแล้ว
ผู้บังคับการนำเฝ้า เอมเปอเรอทรงม้าแลทรงเครื่องทหารม้าสวมเกราะ
แลได้รับสั่งถามผู้บังคับการว่าข้าพระพุทธเจ้าพูดภาษาอะไร
พอผู้บังคับการทูลว่าภาษาเยอรมัน ก็ทรงพระสรวลแลรับสั่งถามว่าที่นี่สบายดีหรือ
หวังพระไทยว่าจะชอบ แล้วประทานพระหัตถ์
|
ในงานพิธีเดียวกันนี้พระองค์ยังทรงมีโอกาสได้มีพระราชปฏิสันถาร
กับพระราชวงศ์เยอรมันพระองค์อื่นๆ และพระราชวงศ์กรีกที่ทรงมาร่วมงานด้วย

ไปรษณียบัตรทรงส่งจากเยอรมนีถึงพระเชษฐภคินีปี พ.ศ.2453 มีลายพระหัตถ์ตอนหนึ่งว่า
"วันนี้จะไปหาดุ๊กโยฮันอาลเบรชต์ เพราะท่านอยู่ใกล้ที่นี่
ดีใจมากที่จะได้เฝ้าในเร็วๆ นี้"
(ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้า น.205)
สมเด็จฯ พระบรมราชชนกทรงเอาพระทัยใส่ ในการทำความรู้จักกับเจ้านายต่างประเทศอยู่เสมอ
เพื่อประโยชน์ต่อการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ
ครั้งหนึ่งในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับพิธีสวนสนามที่เบอร์ลิน
ทรงทราบข่าวจากไทยว่าดุ๊กโยฮันอาลเบรชต์ (Duke Johann
Albrecht) ผู้ปกครองรัฐบรันสวิก (Braunschweig) ของเยอรมนีได้เสด็จเยือนกรุงเทพฯ
พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริที่จะเสด็จไปเข้าเฝ้าเจ้านายพระองค์นี้
เมื่อเสด็จกลับมายังเยอรมนี เพื่อเป็นการตอบแทนพระราชไมตรีและ
"เพื่อที่จะได้รู้จักกันต่อไปภายน่า
ท่านจะได้นำให้รู้จักเจ้านายอื่นๆ
" ดังนั้นใน
พ.ศ. 2453 พระยาศรีธรรมสาส์น อัครราชทูตประจำกรุงเบอร์ลิน
จึงสนองพระราชดำริ ด้วยการจัดให้ทรงได้รับเชิญไปเข้าเฝ้าดุ๊กโยฮันอาลเบรชต์
ที่บรันสวิก ซึ่งทางดุ๊กก็ทรงจัดการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ
ด้วยการเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ และเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรละครโอเปรา
ทำให้สมเด็จฯ พระบรมราชชนกทรงรู้จักกับดุ๊กองค์นี้ และในเวลาต่อมาจะทรงมีความสนิทสนมคุ้นเคย
จนกระทั่งได้รับเชิญเสด็จไปประทับที่บรันสวิกอยู่บ่อยครั้ง
ในช่วงพักระหว่างภาคการศึกษาแต่ละปี สมเด็จฯ พระบรมราชชนกมักจะเสด็จแปรพระราชฐาน
ไปยังเมืองและประเทศต่างๆ เพื่อทรงเยี่ยมเยือนสถานที่
และทำความรู้จักกับบุคคลสำคัญในแต่ละประเทศ ดังตัวอย่างในช่วงพักปิดภาคการศึกษาเดือนตุลาคมพ.ศ.
2454 พระองค์ได้เสด็จประพาสประเทศเดนมาร์ก และทรงได้เข้าเฝ้าเจ้าชายวาลเดมาร์
(Prince Valdemar) พระราชอนุชาพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 8 (Frederik
VIII) แห่งเดนมาร์ก โดยทรงมีพระราชดำริว่าเพื่อ "
ให้คุ้นเคยไว้สำหรับราชการต่อไปข้างน่า
"
การเสด็จครั้งนี้แม้เป็นการส่วนพระองค์ แต่เจ้าชายวาลเดมาร์ก็ทรงจัดการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่
โดยทรงเชิญสมเด็จฯ พระบรมราชชนกไปประทับที่พระราชวังฤดูร้อนแบนสตอร์ฟ
(Bernstorff) ณ กรุงโคเปนเฮเกน และทรงร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำกับพระเจ้าเฟรเดอริคที่
8 ด้วย นอกจากนี้ในระหว่างที่ประทับอยู่ที่เดนมาร์ก ยังได้ทรงพบกับเจ้านายชั้นสูงจากประเทศต่างๆ
อีกหลายพระองค์ ได้แก่ จักรพรรดินีแห่งรัสเซีย สมเด็จพระนางเจ้าอเล็กซานดรา
(Alexandra) แห่งอังกฤษ และกษัตริย์แห่งกรีซ เป็นต้น ทำให้พระองค์ทรงได้คุ้นเคยกับเจ้านายเหล่านี้
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในเวลาต่อมา เมื่อทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จในวาระพิธีต่างๆ
ทางด้านการศึกษา หลังจากทรงร่วมพิธีสาบานธงของนักเรียนนายเรือแล้ว
สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ได้ทรงเริ่มการฝึกภาคทางทะเลในเรือหลวงวิคตอเรีย
หลุยส์ (S.M.S. Victoria Louis) ซึ่งออกเดินทางจากโรงเรียนนายเรือไปยังเมืองคีล
(Kiel) เข้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อมุ่งหน้าไปสู่ยุโรปตะวันตก
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง หมู่เกาะอินดิสตะวันตก แล้วจึงเดินทางกลับ
รวมระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 10 เดือน เพื่อให้นักเรียนนายเรือ
ได้ฝึกหัดทั้งขณะที่เรือกำลังออกปฏิบัติการในทะเลและขณะที่เรือจอด
|

เจ้าชายวาลเดมาร์แห่งเดนมาร์ก
(http://worldroots.com/brigitte/
gifs11/valdemardenmark1858.jpg)

พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
(http://i.c.dk/pics/3/9/7/28793/
org.jpg จาก http://www.geocities.com/
henrivanoene/gendenmark.html)
|

ภาพเรือหลวงวิคตอเรีย หลุยส์
บนไปษณียบัตรที่ทรงส่งให้พระสหาย
(ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้า รูปที่ 208)
|
ในระหว่างทรงฝึกภาคทางทะเลในเรือหลวงวิคตอเรีย
หลุยส์ นี้ นอกจากที่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก จะต้องทรงฝึกการทหารตามหลักสูตรทหารเรือเยอรมันแล้ว
ยังทรงต้องปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ ไปในเวลาเดียวกันด้วยในฐานะเจ้านายแห่งประเทศไทย
นับตั้งแต่เดือนแรกที่ทรงลงฝึกในเรือหลวงวิคตอเรีย หลุยส์
กล่าวคือ ระหว่างที่เรือจอดพักที่เมืองคีล มีข่าวประกาศออกมาว่าพระเจ้าเฟรเดอริคที่
8 แห่งเดนมาร์กเสด็จสวรรคต เรือหลวงวิคตอเรีย หลุยส์
จึงเปลี่ยนเส้นทางไปยังบริเวณน่านน้ำ ที่เรืออัญเชิญพระบรมศพจะแล่นผ่าน
เพื่อให้นักเรียนนายทหารเรือทั้งหมด ได้ทำความเคารพพระบรมศพร่วมกัน
แต่สำหรับสมเด็จฯ พระบรมราชชนกนั้น พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจเพิ่มเติม
ที่จะต้องเสด็จในฐานะผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไปทรงร่วมงานพระราชพิธีอย่างเป็นทางการที่กรุงโคเปนเฮเกนด้วย
จึงต้องทรงลาพักจากการฝึกเพื่อเสด็จไปร่วมงานที่โบสถ์โรสคิลเด
(Roskilde) อันมีเจ้านายราชวงศ์อื่นเสด็จร่วมด้วยอีกเป็นจำนวนมาก
|

พระบรมวงศานุวงศ์เดนมาร์กและผู้แทนประเทศต่างๆ
เข้าร่วมในพระราชพิธีพระบรมศพพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 8 ณ กรุงโคเปนเฮเกน
สมเด็จฯ พระบรมราชชนกประทับด้านขวาสุดของภาพ
(เจ้าฟ้าทหารเรือ น.45)

พระราชวงศ์จากประเทศต่างๆ ที่เสด็จเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ปีพ.ศ.2455 ณ กรุงสตอกโฮล์ม
ภาพโรงเรียนเฟลนบูร์ก มุรวิก บนไปรษณียบัตร
มีลายพระหัถต์รูปกากบาททางด้านซ้าย
ระบุว่า "ห้องอยู่" คือห้องที่ประทับ
(เจ้าฟ้าทหารเรือ น.121)

คำแปลรายงานผลการศึกษา
ที่โรงเรียนนายเรือ ปีพ.ศ.2457
(เจ้าฟ้าทหารเรือ น.141)
|
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2455 เรือหลวงวิคตอเรีย หลุยส์
แล่นตามเส้นทางมาถึงกรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) เมืองหลวงของประเทศสวีเดนและได้แวะจอดที่นี่หลายวัน
ระหว่างนั้นสมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงได้รับเชิญให้เข้าร่วมเสวยพระกระยาหาร
กับสมเด็จพระราชาธิบดีและพระราชินีสวีเดนหลายครั้ง โดยสมเด็จพระราชาธิบดี
ทรงนำชมพระราชวังฤดูร้อนและสวนของพระราชวัง รวมทั้งทรงเชิญสมเด็จฯ
พระบรมราชชนกเสด็จลงเรือตอร์ปิโด เพื่อชมทิวทัศน์ทางน้ำด้วยพระองค์เอง
นอกจากนี้ในช่วงเวลาเดียวกัน กรุงสตอกโฮล์มได้เป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ก็ทรงได้รับเชิญเสด็จไปเข้าร่วมพิธีเปิดงาน
ร่วมกับเจ้านายพระราชวงศ์ชั้นสูง จากหลายประเทศด้วยเช่นกัน
โดยพระองค์ทรงเป็นเจ้านายไทยพระองค์แรก ที่ได้เสด็จเข้าร่วมพิธีนี้
สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถเรียนได้ไว
และดีเป็นพิเศษเช่นเดียวกับพระเชษฐา คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
ซึ่งเคยทรงมีผลการศึกษาในระดับดี ถึงขั้นที่จักรพรรดิวิลเฮล์มที่
2 ทรงชมเชยมาก่อนแล้ว ผลการศึกษาของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก
อยู่ในระดับยอดเยี่ยมเกือบทุกครั้งที่มีการจัดสอบต่างๆ
เช่น ในการสอบไล่ของ โรงเรียนนายร้อยชั้นสูงโกรสลิชเตอร์เฟลด์ใน
พ.ศ. 2454 ก็ทรงทำคะแนนได้ดีกว่านายทหารอื่นๆ ดังมีปรากฏในเอกสารของทางประเทศไทยที่บันทึกไว้ว่า
...สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ฯ ได้ทรงทำ การสอบไล่วิชาเฟนริก
ณ โรงเรียนนายร้อยชั้นสูงของเยอรมันสำเร็จแล้ว คือ
ทรง ได้คะแนนแต้มตามหลักสูตรเรียกอย่างเยอรมันว่า
"Sehr gut" พิเศษ ซึ่งปกติได้ โดยการเขียนแล
แต่งเรียงคำถาม ได้อย่างดี ไม่ต้องสอบปาก การที่ทรงสอบได้
เช่นนี้นับว่าเป็นแต้มชั้นสูง ถึงนักเรียนเยอรมันเองก็ไม่ใคร่จะทำได้...
ทำให้ มีผู้ชมเชยมากที่พระองค์ เป็นนักเรียนไทยคนแรกที่ทำการสอบไล่ได้แต้มเช่นนี้... |
|
ระดับผลการศึกษาของสมเด็จฯ พระบรมราชชนกคงอยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยมเรื่อยมา
ตลอดการศึกษาในประเทศเยอรมนี จนกระทั่งในการสอบครั้งสุดท้ายคือ
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 ก็ทรงสอบผ่านด้วยคะแนนสูงเช่นเคย ดังที่ปรากฏในรายงานการศึกษาที่จักรพรรดิวิลเฮล์มที่
2 ทรงแสดงความยินดีและให้แจ้งมายังประเทศไทย โดยสรุปแล้ว ในช่วงที่สมเด็จฯ
พระบรมราชชนกทรงศึกษาอยู่ในประเทศเยอรมนี ทรงปฏิบัติพระองค์ เป็นเสมือนทูตเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ
ทั้งระหว่างประเทศไทยกับเยอรมนี และประเทศอื่นๆ เช่น เดนมาร์ก
สวีเดน อังกฤษ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านี้ ผลการศึกษาที่ยอดเยี่ยมของพระองค์
ก็ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย ให้ชาวต่างประเทศได้เห็นความสามารถของคนไทย
ว่ามิได้ด้อยไปกว่าชนชาติตะวันตกแต่อย่างใดเลย
|